รู้ไว้ไม่เอาต์ เฮาส์ออฟแม่โขง (House of Mekhong)
คุณๆ รู้จักแม่โขงกันไหมคะ แม่โขงที่ไม่ได้หมายถึงแม่น้ำ แต่เป็นชื่อของสุราหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเหล้านั่นล่ะ หากใครอยู่ในวัยทำงานแล้ว เชื่อว่าต้องรู้จักเหล้าแม่โขงกันทุกคนเนอะ บางคนได้ยินชื่อมาตั้งแต่เกิด บางคนรู้จักตั้งแต่เรียน บางคนมาสนิทในช่วงทำงาน และบางคนน่ะซี้กันมาจนถึงปัจจุบัน สรุป(เอง)ล่ะนะ ว่าคุณๆ ก็รู้จักแม่โขง
วันนี้นึกครึ้มอะไรมาคุยกันเรื่องนี้ ^^ อ๊ะ อ๊ะ เราไม่ได้ชวนคุณดื่มน้าาา แต่ตั้งใจชวนคุณชม... "พิพิธภัณฑ์" ที่คาดว่าคุณน่าจะยังไม่เคยไป และคงมีโอกาสน้อยมากๆ ที่จะได้ไป (อย่าบอกนะว่าหมายถึง.... ) ถูกต้องนะคร้าบบบ พิพิธภัณฑ์สุราแม่โขงนั่นเอง
ทริปครั้งนี้อาจจะผิดคอนเซ็ปต์ของการชวนเที่ยวไปบ้าง ไม่ได้เดินทางชิลๆ อย่างทุกครั้งที่ผ่านมา ต้องขับรถไปเอง เนื่องจากเป็นเขตอุตสาหกรรมและห่างจากตัวเมืองไปพอสมควรจ้าาา แต่ที่ดั้นด้นมาเพราะว่าที่แห่งนี้ไม่ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่ใครๆ ก็เข้าได้ จึงอยากนำมาแบ่งปันให้ได้ชมและเรียนรู้ไปด้วยกัน
เราบังเอิญได้ติดสอยห้อยตามสมาชิกผู้ทรงเกียรติกลุ่มหนึ่งที่ได้รับเชิญให้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แม่โขง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า House of Mekhong ในพื้นที่ที่เรียกว่าโรงงานบางยี่ขัน 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลบางคูวัด จังหวัดปทุมธานี ในเครือของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาชิกที่นี่นิยมเรียกสถานที่นี้ว่า HOM (ออกเสียงว่าเอชโอเอ็ม ไม่ใช่ฮอม หรือ หอม แต่ประการใด ^^ ) เอิ่ม.... แล้ว HOM เนี่ยคืออารายเหรออออ ถ้าให้เราอธิบายเพื่อให้เห็นภาพได้คร่าวๆ ก็คือพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องเหล้าแม่โขง (ภูมิใจจัง เราเรียกของเราเอง ^^ แฮ่...) ที่เขาเก็บรวบรวมและบอกเล่าเรื่องราวของสุราแม่โขงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปัจจุบันนั่นเอง แล้วเป็นยังไงล่ะ นึกไม่ออกอยู่ดี ฉะนั้น... ป่ะ ไปดูกันเลยดีกว่า
ทริปครั้งนี้อาจจะผิดคอนเซ็ปต์ของการชวนเที่ยวไปบ้าง ไม่ได้เดินทางชิลๆ อย่างทุกครั้งที่ผ่านมา ต้องขับรถไปเอง เนื่องจากเป็นเขตอุตสาหกรรมและห่างจากตัวเมืองไปพอสมควรจ้าาา แต่ที่ดั้นด้นมาเพราะว่าที่แห่งนี้ไม่ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่ใครๆ ก็เข้าได้ จึงอยากนำมาแบ่งปันให้ได้ชมและเรียนรู้ไปด้วยกัน
เราบังเอิญได้ติดสอยห้อยตามสมาชิกผู้ทรงเกียรติกลุ่มหนึ่งที่ได้รับเชิญให้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แม่โขง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า House of Mekhong ในพื้นที่ที่เรียกว่าโรงงานบางยี่ขัน 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลบางคูวัด จังหวัดปทุมธานี ในเครือของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สมาชิกที่นี่นิยมเรียกสถานที่นี้ว่า HOM (ออกเสียงว่าเอชโอเอ็ม ไม่ใช่ฮอม หรือ หอม แต่ประการใด ^^ ) เอิ่ม.... แล้ว HOM เนี่ยคืออารายเหรออออ ถ้าให้เราอธิบายเพื่อให้เห็นภาพได้คร่าวๆ ก็คือพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องเหล้าแม่โขง (ภูมิใจจัง เราเรียกของเราเอง ^^ แฮ่...) ที่เขาเก็บรวบรวมและบอกเล่าเรื่องราวของสุราแม่โขงตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปัจจุบันนั่นเอง แล้วเป็นยังไงล่ะ นึกไม่ออกอยู่ดี ฉะนั้น... ป่ะ ไปดูกันเลยดีกว่า
โฉมหน้าของอาคารพิพิธภัณฑ์แม่โขง หรือ House of Mekhong |
ผ่านเข้าประตูอาคารไป พบตู้จัดแสดงสุราที่ระลึกเมื่อครั้งฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษาในหลวงรัชกาลที่ 9 หลังตู้จัดแสดงนี้คือห้องจำหน่ายของที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั่นเอง |
ขวดสุราขนาดใหญ่กว่าที่เคยมีจำหน่ายในท้องตลาด ตั้งอยู่กลางห้องโถง ที่ใครผ่านไปมาเป็นต้องถ่ายภาพร่วมด้วยเป็นที่ระลึก
ก่อนไปชมพิพิธภัณฑ์ มีการบรรยายถึงบริษัทไทยเบฟฯ และผลิตภัณฑ์ในเครือ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้กับสังคม ปิดท้ายด้วยการบรรยายถึงกระบวนการผลิตสุราของโรงงานแห่งนี้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงกระบวนการบรรจุ |
สุราหลากหลายชนิดในเครือไทยเบฟเวอเรจ น่าจะพอคุ้นตากันบ้างล่ะ |
จบการบรรยายแล้วเราก็ถูกเชื้อเชิญให้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์กันจริงๆ แล้วนะ พิพิธภัณฑ์แม่โขง หรือ HOM อยู่บนชั้น 2 ของอาคารแห่งนี้ เดินขึ้นบันไดไปก็ต้องสะดุดตากับภาพขนาดใหญ่ที่อยู่บนผนังตรงหน้าเรา ต่อมความอยากรู้อยากเห็นทำงานทันที แฮ่... ได้ความมาว่าภาพนี้เป็นภาพแห่งความทรงจำและเป็นมหามงคลกับบุคลากรแห่งนี้ยิ่งนัก เพราะเป็นภาพเรือพระที่นั่งฯ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคผ่านโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งแรก (ปัจจุบันได้ปิดดำเนินการไปแล้วและย้ายมาอยู่ที่ปทุมธานีแห่งนี้ ในชื่อบางยี่ขัน 2 นั่นเอง) เนื่องในวโรกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ใน พ.ศ. 2525
เกริ่นเยิ่นเย้อมานาน จะได้เข้าไปจริงๆ ล่ะนะ คุณๆ ตื่นเต้นกันไหม เรานี่ตื่นเต้นจริงๆ ไม่ได้โม้!!! 😁อยากรู้แล้วล่ะว่า HOM จะเป็นอย่างไร มีความลับอะไรซ่อนอยู่บ้าง เราไปไขความลับกันเถอะ เร้ววววว.... เริ่มตั้งแต่ผ่านประตูเข้าไป ก็รู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลาหาอดีตกันเลยทีเดียว ภายในถูกจัดแต่งในรูปแบบห้องมืด เน้นแสงสีเฉพาะจุด ทำให้บรรยากาศเหมือนได้ดำดิ่งไปในอดีต ไม่อยากอธิบายให้เสียอรรถรส ไปชมภาพกันเลยดีกว่าน้าาาา
โหมโรงกันตั้งแต่หน้าประตูเลยเชียว หลายคนเริ่มมีคำถามว่า พิพิธภัณฑ์นี้จะบอกอะไรกับเรา ???
เข้ามาในโค้งแรกเขาบอกเล่าถึงตำนานของ"สุรา" ประวัติความเป็นมา การจัดแบ่งประเภทของสุรา สุรากับความสัมพันธ์ของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อต่างๆ รวมถึงวิธีการผลิตสุราพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน โดยใช้ภาพวาดเป็นสื่อในการเล่าเรื่อง เราเดินตามภาพวาดไปซึมซับรับรู้ข้อมูลไปอย่างไม่รู้ตัวเลย
เดินดูเดินอ่านเพลินไปจนจบ ก็มาถึงส่วนบ่งบอก "ตำนานบางยี่ขัน" บอกเล่าความเป็นมาของโรงงานผลิตสุราแม่โขงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้รู้ว่าชื่อ"แม่โขง"มีประวัติความเป็นมาด้วยนะเอ้อออ ในยุคที่ประเทศไทยเคยมีกรณีพิพาททวงดินแเดนคืนจากฝรั่งเศส หรือที่เรียกว่าสงครามอินโดจีน ช่วงนั้นหลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์เพลงเพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติและกล้าเข้าสู่สมรภูมิรบในชื่อเพลงว่า "ข้ามโขงไปสู่แคว้นแดนไทย" และ "โขงสองฝั่งเหมือนฝั่งเดียวกัน" กรมสรรพสามิตจึงตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีที่ผลิตขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2484 นั้นว่า "แม่โขง" เพื่อให้มีความทันยุคทันสมัยเข้ากันกับสถานการณ์ในขณะนั้น นอกจากนี้ยังพบป้ายบริษัทสุรามหาราษฎรจำกัด ที่เคยตั้งอยู่ที่บางยี่ขัน ถูกจัดแสดงอยู่ด้วย ซึ่งเป็นชื่อเดิมก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันว่าบริษัทสุราบางยี่ขันจำกัดตั้งอยู่ที่บางคูวัด ปทุมธานี ไม่งงกันเนอะ 😁 ในส่วนนี้มีเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในยุคก่อตั้งโรงงานมาจัดแสดงให้ชมด้วย
เครื่องบรรจุสุรารุ่นบุกเบิกของโรงงาน สามารถบรรจุได้ครั้งละ 6 ขวด |
เดินมาจนเจอบล็อกโมเดลรูปทรงเรขาคณิตอยู่บนโต๊ะทรงกลม เอ.... อะไรหนอ ไม่เห็นจะเข้าใจเลยว่ามันคืออะไร ยืนงงอยู่สักครู่ก็ต้องร้อง....อ๋ออออ ยาวๆ กันเลย เพราะมี แสง สี วิ่งปรู๊ดปร๊าดยิงส่องลงมาทาบทับบนบล็อกโมเดลแต่ละชิ้น พร้อมประกอบเสียงอธิบายบอกเล่าให้รู้ว่าสิ่งที่เราเห็นอยู่นั้นคือ แผนผังแสดงพื้นที่และกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงหมัก โรงกลั่น โรงบรรจุ จนถึงโรงบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 แห่งนี้นั่นเอง ตื่นตาตื่นใจแถมข้อมูลชัดเจน เห็นแบบนี้แล้ว โซนต่อไปต้องมีอะไรดีๆ ให้ดูอีกแน่ ไป ไป รีบไปต่อกันเถอะ
นั่นไง!! ย้อนอดีตกันลงไปอี๊กกกก เดินทางกันมาถึงตรงนี้ ที่เป็นส่วนแสดงวิวัฒนาการสุราแม่โขงตั้งแต่ยุคบุกเบิกมาจนถึงยุคปัจจุบัน ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงไปของขวดและฉลากในแต่ละสมัย ที่มาของภาพการ์ตูน"คุณโป๊งเหน่ง" จิตรกรในตำนานโฆษณาแม่โขงที่ใครๆ เห็นก็จำได้ ใบปิดโฆษณาในแต่ละรุ่น รวมไปถึงปฏิทินแม่โขงที่เป็นของฮ็อตฮิตในอดีต ยุคนั้นใครๆ ก็อยากมีไว้ในครอบครอง ว้าวเลยอ่าาาา
ให้ไวเลย... เมื่อมาถึงมุมนี้ บอกให้รู้ว่าเราเดินทางมาถึงห้องแห่งความลับแล้ว มาพบกับศาสตร์ของการผลิตที่บอกเล่าถึงสูตรลับต้นตำรับ หัวใจแห่งความดื่มด่ำของสุราแม่โขง ทั้งวัตถุดิบ ส่วนผสม วิธีการหมัก บ่ม กลั่น กรอง ตลอดจนกระบวนการควบคุมที่ทำให้กลิ่น สี รส คงความเป็นเอกลักษณ์ของสุราสัญชาติไทยที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ จุ๊ จุ๊ ... อย่าเอ็ดไป ความลับทั้งนั้นเลยนะเนี่ย ของแบบนี้ปกติไม่มีใครเขาบอกกันหรอก
ยังไม่หายตื่นตาตื่นใจเลย เราก็หลุดออกจากอดีตมาแล้ว อ้าว... ไหงมาอยู่ในแม่โขงบาร์ได้ล่ะ ทำยังกับวาร์ปมาเลยเชียว ต้องมีอะไรดีๆ ที่นี่แน่นอนเลย อิอิ
เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่าปัจจุบันนี้สุราแม่โขงได้ยกระดับตัวเองเป็นสุราระดับสากล หรือ ผลิตภัณฑ์ระดับชาติ ไปแล้วค่าาา จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนรูปทรงขวด ฉลาก โลโก้ ให้ดูเป็นสากล บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามแข็งแรง ลวดลายที่สะท้อนบอกความเป็นไทย สามารถนำไปเป็นของฝาก ของที่ระลึกในระดับพรีเมี่ยมได้ไม่อายใคร พร้อมๆ กันนี้ ยังสามารถนำไปผสมในสูตรเครื่องดื่มค็อกเทลต่างๆ ที่ให้กลิ่นรสเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่นิยมในหมู่นักดื่มนานาชาติอีกด้วย อาทิเช่น "ค็อกเทลไทยสบาย" ที่เขาบรรจงสาธิตวิธีการผสม เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ลิ้มลองความละมุนดื่มด่ำได้ด้วยตัวเอง บอกเลยว่ารสชาติว้าววว....จริงจัง 😲😁
House of Mekhong (พิพิธภัณฑ์สุราแม่โขง) ถึงแม้จะไม่ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่ใครๆ เข้าชมได้ตลอดเวลา แต่หากคุณๆ สนใจเข้าเยี่ยมชม ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถซะทีเดียว เพียงคุณรวบรวมสมาชิกเป็นกลุ่ม หมู่คณะ ชมรม ที่สนใจและคาดว่าน่าจะได้ประโยชน์จากการเยี่ยมชม แล้วทำหนังสือแจ้งความจำนงไปยังฝ่ายประชาสัมพันธ์บริษัทไทยเบฟเวอเรจจำกัด (มหาชน) เพื่อให้เขาตอบรับ คุณก็มีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมเยียนไขความลับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เช่นเดียวกับเราแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การที่เรามาเจอกันจนถึงบรรทัดนี้ ขอบอกคุณๆ อย่างมั่นใจเลยค่ะว่า.... รู้ไว้ไม่เอาต์ เฮาส์ออฟแม่โขง
ขอขอบคุณ : คุณพิสุทธิ์และทีมงานบางยี่ขันทุกท่าน
คุณพิสุทธิ์และแขกผู้มาเยือน |
ขอขอบคุณ : คุณพิสุทธิ์และทีมงานบางยี่ขันทุกท่าน
แว้บแรกก็ให้คิดถึงแม่น้ำโขงเลยค่ะ ขอเชิญชวนผู้เขียนมาเขียนเรื่องของผู้คนในจว.ที่ติดลำน้ำโขง(นครพนม)มีหลากหลายวัฒนธรรมค่ะ เช่นไทยญ้อท่าอุเทน ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามเป็นต้น ยินดีต้อนรับค่ะ
ตอบลบ